วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบจุดประสงค์4


ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2.
การเขียนเพื่อการสื่อสาร จำนวน10ข้อ
โดย เด็กชาย คมสัน เเละเด็กหญิง สุกัญญา โรงเรียนผาแดงวิทยา
คำสั่ง เลือก เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
1.ข้อใดไม่ใช้จุดประสงค์ของการเรียน
   เขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ต
   เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น
   เขียนเพื่อสร้างจินตนาการ
   เขียนเพื่อโน้มน้าวใจ

ข้อที่ 2)
จากข้อความดังกล่าวใจความสำคัญคืออะไร
   ดนตรีทำให้มีสติ
   ดนตรีทำให้รื่นเริง
   ดนตรีช่วยให้มีสติ
   ดนตรีทำให้มีอาชีพ

ข้อที่ 3)
ข้อใดต่อไปนี้ควรนำมาเป็นหัวข้อในการเขียนเรียงความ
   ครูดีที่ฉันรัก
   คำขวัญในวันครู
   วิธีสอนของครู
   ความรู้สึกประทับใจที่มีต่อครู

ข้อที่ 4)
ข้อใดเป็นประโยคสามัญ
   เธอชอบดื่มชาเขียวหรือชาดำ
   พ่อและแม่ต้องไปรับน้องที่โรงเรียนอนุบาล
   นักเรียนทุกระดับชั้นร่วมกิจกรรมวันสุนทรภู่
   เขาชอบเรียนวิชาภาษาไทยและชอบเรียนวิชาภาษาศิลปะด้วย

ข้อที่ 5)
ประโยคในข้อใดเป็นประโยคคำสั่ง
   เขามาโรงเรียนแต่เช้า
   นักเรียนเดินเรียงแถวซิ
   ไม่เป็นไร เราไปพร้อมกันนะ
   ณยายนอนหลับหรือยังคะ

ข้อที่ 6)
จากข้อความข้างต้นเป็นการเขียนในรูปแบบใด
   เขียนอธิบาย
   เขียนวิจารณ์
   เขียนบรรยาย
   เขียนพรรณนา

ข้อที่ 7)
ทักษะการเขียนที่ถ่ายทอดความคิดของผู้เขียนสู่ผู้อ่านข้อใดสำคัญที่สุด
   อ่านซ้ำๆ แล้วจึงเขียน
   เขียนสะกดคำให้ถูกต้อง
   ฟังและดูสื่ออย่างสม่ำเสมอ
   คิดวิเคราะห์เรื่องที่อ่านและเขียน

ข้อที่ 8)
ข้อใดแสดงถึงความไม่มีมารยาทของผู้เรียน
   ธนากรเขียนวิจารณ์ข่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง
   เนติพงษ์ตรวจสอบงานเขียนก่อนเผยแพร่
   วายุจะศึกษาค้นคว้าข้อมูลก่อนเริ่มเขียน
   ปราโมทย์ไม่เขียนข่าวข่มขู่ผู้ใด

ข้อที่ 9)
การคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นมาควรปฏิบัติงานในข้อใดจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
   เขียนชื่อย่อเจ้าของหนังสือ
   เขียนวัตถุประสงค์ไว้ท้ายเล่ม
   บอกเหตุผลไม่ต้องบอกชื่อผู้แต่ง
   ระบุชื่อผู้แต่งเรื่องหรือบอกที่มาของเรื่อง

ข้อที่ 10)
ถ้าจะเขียนเรียงความโดยใช้บรรยายโวหารควรเลือกเรื่องใดเหมาะสมที่สุด
   นุชเพื่อนรัก
   ป่าไม้ของไทย
   ประวัติสุนทรภู่
   เอกลักษณ์ไทย เพื่อคนไทย



วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


ภาษาไทยม.2เรื่อง วิวิทธภาษา ชั้นมัธยมศึกศาปีที่2เรื่อง วิวิทธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 เรื่องพูดดีมีเสน่ห์



พูดดี  มีเสน่ห์

พาทีมีสติรั้ง            รอคิด
รอบคอบชอบแลผิด        ก่อนพร้อง
คำพูดพ่างลิขิต             เขียนร่าง  เรียงแฮ
ฟังเพราะเสนาะต้อง        โสตทั้งห่างภัย 


พูดดี  มีเสน่ห์
แจงเป็นเด็กหญิงอายุ13 ปี อยู่กับพ่อแม่ พี่ชาย  และน้องสาว ในบ้านหลังเล็กๆ ที่ปลูกอยู่ในบริเวณเดียวกันกับบ้านของคุณยาย  และบ้านของป้าวิมลอีก 1 หลัง คุณยายมีลูกสาว 2 คน คือป้าวิมล และวิภาแม่ของแจง  แจงรักคุณยายและชอบคุยกับคุณยายมาก  ไม่ว่าแจงจะคิดจะทำอะไร แจงจะไปเล่า ไปปรึกษา และขอความเห็นจากคุณยายเสมอวันนี้ทำการบ้านเสร็จแล้ว อยากคุยกับคุณยาย จึงไปหาคุณยายที่บ้าน

แจง      :  สวัสดีค่ะคุณยาย
คุณยาย   :  จ้ะสวัสดี  นี่ยายทำลอดช่องของชอบของแจงพอดีเลยมากินเสียซิ
แจง      :  ขอบคุณค่ะ วันนี้แจงมีเรื่องของแก้วมาเล่าให้คุณยายฟัง
คุณยาย   :   เดี๋ยวค่อยเล่าก็ได้  กินขนมให้เสร็จเสียก่อน
แจง       ค่ะ แจงตื่นเต้นนะคะ อยากให้คุณยายรู้จักแก้ว
คุณยาย   :  เรื่องของแก้วนี่ ดีหรือร้ายจ๊ะ
แจง     :  เรื่องดีค่ะ  ดีมากๆ  ด้วย  แก้วเขาได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนดีเด่นของ  โรงเรียนปีนี้ค่ะ
คุณยาย  :  แจงคงชอบแก้วมาก จึงดีใจกับเขา สนิทกับเขามากหรือ
แจง     :  ค่ะ  คุณยาย  สนิทกันเพราะตอนเย็นเรากลับบ้านด้วยกันทุกวัน  แจง   กับแก้วชอบ            อะไรเหมือนๆกัน
คุณยาย   :   ชอบอะไรบ้างล่ะ ที่เหมือนกัน
แจง   :  เราชอบนุ่งกางเกงยีนส์แต่ไม่ชอบสวมเสื้อยืดเหมือนกันชอบดูกีฬาแต่ไม่ชอบเล่นเหมือนกัน และก็ชอบดูหนังฟังเพลงเหมือนกันค่ะ ที่ต่างกันก็มีนะค่ะ คือ แจงพูดอะไรตรงๆแบบที่คุณยายว่า  ขวานผ่าซาก  แต่แก้วเขาระวัง  เขาไม่ว่าใครเลย  พูดก็เพราะ  คุณยาย 
คงเดาได้นะคะว่าเพื่อนๆ ต้องชอบแก้วมากกว่าแจง
คุณยาย   :  แล้วนักเรียนดีเด่นนี่ เขาเลือกด้วยเกณฑ์อะไรล่ะจ๊ะ
แจง   :  อาจารย์ใหญ่บอกว่า  แก้วเป็นคนที่มีมารยาทดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี  มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และใส่ใจการเรียนดีเยี่ยมด้วยค่ะ  แก้วพูดจาอ่อนหวานไพเราะกับทุกคนไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร  เวลามีคนมาชมกิจการของโรงเรียน  แก้วมักได้รับเลือกเป็นผู้นำชมค่ะ  แล้วเวลาที่เขาจะกลับมักชมแก้วให้ใครๆได้ยินว่าแก้วพูดเพราะ พูดเก่ง  และพูดชัด  แก้วก็จะตอบว่า ขอบพระคุณค่ะ
คุณยาย   :    ยายก็สอนแจงบ่อยๆ ไม่ใช่หรือว่า  การพูดเป็นสิ่งสำคัญเราต้องพูดให้เพราะและพูดให้ชัด เก่งหรือไม่เก่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แจง   : แก้วเขาเป็นคนมีน้ำใจด้วยค่ะ  เวลามีเพื่อนเขามายืมอุปกรณ์วาดรูป  เครื่องมือทำงานแก้วก็ให้ยืม ทั้งๆ ที่ต้องใช่เหมือนกัน  และพูดดีกับเพื่อนทุกครั้งเลยคี่ไม่เคยบ่นว่าอะไรเลย   
คุณยาย   :   ใจดีด้วยนะ  แก้วคนนี้
แจง   : ค่ะ ที่แจงชอบแก้วมากอีกเรื่องหนึ่ง คือ เวลามีเพื่อนมาเล่าเรื่องไม่ดีของเพื่อนคนอื่นให้ฟัง แก้วจะไม่พูดต่อเลยค่ะ แล้วไม่ให้แจงวิพากษ์วิจารณ์ด้วย  ทั้งแก้วทั้งแจงจึงไม่มีเรื่องผิดใจกับเพื่อนคนไหนเลยค่ะ
คุณยาย  :  อย่างนี้เรียกว่า  เป็นไม่นินทาว่าร้ายใคร
แจง   :  กับคนอื่นแก้วก็พูดดีนะค่ะ  เวลาไปเดินในร้านขายหนังสือใกล้โรงเรียนด้วยกันพนักงานขายมักจะยิ้มให้แก้วเพราะแก้วจะขอบคุณเขาทุกครั้งที่เขาพาไปหาหนังสือที่เราสนใจ  หรือไปหยิบหนังสือมาให้เรา  แจงเสียอีกลิ้นแข็ง  ไม่ค่อยพูดขอบคุณเขา
บางทีดูเหมือนตัวเองออกจะหยิ่งนะคะ  ชอบคิดว่าเขามีหน้าบริการก็ต้องบริการแต่ตอนนี้แจงคิดได้แล้วค่ะ  แจงจะทำตามอย่างแก้ว   จะได้มีเพื่อนมากๆ ดีไหมคะคุณยาย
คุณยาย   :  ดี ลูก
แจง     :  คุณยายเอาใจช่วยแจงนะคะ
คุณยาย   :  จ๊ะ   ยายก็ชอบมีหลานเป็นพูดดี  มีคนรักคนชอบเหมือนกัน  ว่าแต่ว่าพูดเหนื่อยหรือยังจ๊ะ  ยายว่าหยุดคุยกินลอดช่องของโปรดของแจงเสียก่อนดีไหม
แจง   :  ดีค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ  แจงรักคุณยายมากที่สุดในโลกเลยค่ะ

ข้อคิดจากเรื่อง
เรื่อง พูดดี มีเสน่ห์  เป็นบทสนทนาระหว่างยายกับหลาน  ให้ข้อคิดว่าการพูดเป็นสิ่งสำคัญ  การพูดดีป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังพอใจ  สบายใจ  โดยผ่านการเลือกสรรถ้อยคำที่สภาพไพเราะเหมาะสมกับกาลเทสะและบุคคล  พูดความจริงพูดมีสารประโยชน์  มีเหตุผลที่น่าสนใจ  น่าเชื่อถือ  คนพูดดีจึงมักได้รับความชื่นชม  รักใคร่  มีเสน่ห์ชวนให้คนอยากคบหาสมาคมด้วย    

ความรู้เกี่ยวกับการพูด
การพูดมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา  เราต้องพูดจาสื่อสารกับคนที่แวดล้อมใกล้ตัว  เช่น พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ครูอาจารย์ คนที่ต้องพบปะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในกิจกรรมการเรียน การงาน อาชีพ และวิถีทางดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เช่น  คนขายของ  คนเก็บเงินค่าโดยสารรถประจำทาง  คนเก็บขยะ  บุรุษไปรษณีย์ และอื่นๆ การพูดกับคนที่แวดล้อมใกล้ อาจมีเรื่องราวที่หลากหลายทั้งมีสาระและไม่มีสาระ เรื่องพูดคุยเล่าสู่กันฟัง เรื่องการแสดงความคิดความเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ประสบพบเห็น ซึ่งอาจสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันหรือขัดแย้งต่างมุมมองกัน  แต่การพูดกับอื่นที่มิใช่คนที่แวดล้อมใกล้ตัว  อาจเป็นการพูดที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องดำเนินการร่วมกันหรือเกี่ยวข้องกันโดยหน้าที่การงาน  การประกอบอาชีพ  การร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ  นอกจากนี้ยังมีการพูดอย่างเป็นางการกับที่ประชุมชน  การพูดกับคนจำนวนมาก  เช่น กล่าวคำอวยพร  กล่าวปฐมกถา  กล่าวสุนทรพจน์  บรรยายทางวิชาการ  อภิปราย  โต้ว่าที  หรือการพูดกึ่งทางการ เช่น  แสดงความคิดเห็นในที่ประชุม  แสดงความคิดเห็นทางวิชาการ  เล่านิทาน เล่าประสบการณ์ เป็นต้น  โดยทั่วไป  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน  มีมนุยสัมพันธ์ และทำประโยชน์ให้แก่สังคมประเทศชาติ  ส่วนใหญ่มักเป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูด  เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่า  พูดดี การเก่ง กล้าพูด และมารยาทในการพูด  ส่วนหนึ่งเป็นความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนที่ลอกเลียนแบบกันได้ยากเรียกกว่ามีพรสวรรค์  อีกส่วนเป็นความสามารถที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้  ฝึกฝน  พัฒนา  ที่กล่าวว่า  เป็นความสามารถที่ได้จากพรแสวง

พูดดี  หมายถึง  การพูดที่ใช้ถ้อยคำที่สุภาพไพเราะ  ออกเสียงได้ขัดเจนถูกต้อง  มีจังหวะหนักเบาและน้ำเสียงตามความหมายของข้อความหรือเรื่องราวเลือกถ้อยคำและคำลงท้ายเหมาะสมกับเรื่องราว  กาลเทศะ  และบุคคล  พูดคำจริง  ไม่พูดคำเท็จ  ไม่พูดบิดเบือนความจริง  ไม่พูดส่อเสียดหรือยุยงใส่ร้ายป้ายสีกัน  รู้ว่าอะไรควรพูด  อะไรไม่ควรพูด  เช่น ไม่พูดเรื่องที่เป็นการล่วงล้ำหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งนอกจากเป็นการเสียมารยาทแล้วยังอาจผิดกฎหมายด้วยไม่พูดในสิ่งที่ทำให้กระทบกระเทือนใจ  หรือทำให้คนอื่นเก้อกระดาก อับอาย โดยเฉพาะท่ามกลางที่ประชุมชน  ไม่พูดถึงสิ่งที่เป็นอัปมงคลในงานมงคล  เป็นต้น  พูดดียังหมายรวมถึงการมีมารยาทในการพูดที่ให้ความสำคัญกับผู้ฟังหรือคู่สนทนา  เช่น สบตา  ยิ้มแย้มแสดงความเป็นมิตร  เปิดโอกาสให้ผู้ฟังหรือคู่สนทนาได้พูดหรือแสดงความคิดเห็น  ใส่ใจความรู้สึก  ความพึงพอใจของผู้ฟังหรือคู่สนทนา  ไม่ชิงพูดไม่พูดขัดหรือแทรกก่อนที่ที่คู่สนทนาจะพูดจบความ  ที่สำคัญการพูดดีต้องเป็นการพูดที่สื่อความหมายให้เข้าใจในทางสร้างสรรค์  พูดแล้วทำให้คนพอใจ สบายใจ มีความสุข เกิดผลดี เกิดความรัก ความสามัคคี  และความเจริญก้าวหน้าในหมู่คณะสังคม และประเทชาติ เช่น การพูดให้กำลังใจที่กำลังผิดหวัง  พูดให้คนมานะอดทนต่อสู้กับความลำบากยากจน พูดให้คนคลายความวิตกกังวล ความโกรธ  ความอิจฉาริษยา  พูดให้คนร่วมคิด ร่มทำ ร่วมสร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติ
พูดดี  มักมีพื้นฐานมาจากการคิดดี  คิดถูกต้อง คิดสุจริต คิดอย่างมีเหตุผล คิดถูกวิธี คิดถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ มากกว่าประโยชน์ส่วนตน  การคิดดีนั้นควรคิดในทางสร้างสรรค์  มีสติกำกับ สติทำให้เกิดปัญญา  ปัญญาทำให้รู้เห็นถึงแนวทางที่ควรทำควรปฏิบัติ เมื่อต้องถ่ายทอดความคิดดีโดยการพูดเพื่อสื่อสารไปให้ผู้อื่นรับรู้หรือนำไปปฏิบัติ  ก็ย่อมเป็นคำพูดที่ดีตามไปด้วย  สิ่งที่ต้องระวังให้มากเกี่ยวกับการพูดนั้น คือ ต้องคิดก่อนพูด คิดถึงความควรไม่ควร คิดถึงความรู้สึกของผู้ฟัง คิดถึงผลได้ผลเสียที่พึงจะได้รับการพูดโดยไม่คิดมักทำให้ผิดใจกัน ทำลายสัมพันธภาพที่เคยดีต่อกัน ทำให้เสียประโยชน์ เกิดผลเสียหาย และอาจนำภัยมาสู่ตน สู่บุคคลที่แวดล้อมใกล้ชิด สู่สังคมและประเทศชาติ อย่างที่เรามักกล่าวกันว่าเป็นโอษฐภัย ดังคำโคลงสุภาษิต นฤทุมนาการที่ว่า

พาทีมีสติรั้ง                            รอคิด
รอบคอบชอบแลผิด                  ก่อนพร้อง
คำพูดพ่างลิขิต                        เขียนร่าง  เรียงแฮ
ฟังเพราะเสนาะต้อง                  โสตทั้งห่างภัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พูดเก่ง หมายถึง การพูดที่มีกลวิธีในการพูดเพื่อให้น่าสนใจ น่าประทับใจพูดแล้วเกิดผลดีผลสำเร็จ คนพูดเก่งมักมีวิธีการพูดที่ทำให้คนฟังสนใจ เพลิดเพลินสนุกสนาน มีลีลาการพูดที่เป็นแบบฉบับเฉพาะตน ประกอบกับการแสดงสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียงได้สอดคล้องกับเรื่องราวและอารมณ์ความรู้สึก มีการสอดแทรกมุกตลก คำคม สำนวนโวหาร คำประพันธ์ที่ไพเราะ  และน่าสนใจ ในช่วงจังหวะการพูดที่เหมาะสมก็เป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างบรรยากาศ ความน่าเชื่อถือ และความประทับใจแก้ผู้ฟัง พูดเก่ง มีลักษณะการพูดดังนี้
พูดได้สาระความรู้ อ้างอิงข้อมูลหรือข้อเท็จจริงได้ถูกต้องแม่นยำ
พูดตรงประเด็น  ตรงตามหัวข้อที่พูด เนื้อหาสาระที่พูดไม่สับสนวกวน
พูดคล่อง ออกเสียงได้ชัดเจน ถูกต้อง เป็นธรรมชาติ  ไม่ติดขัด

กล้าพูด  หมายถึง การยอมพูดในสิ่งที่ควรพูด  ไม่เกรงกลัวอิทธิพล หรืออันตราย มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองบนพื้นฐานความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่ตนมีตนรู้ เพื่อประโยชน์และผลสำเร็จทั้งต่อตนเองและต่อส่วนรวม โดยคำนึงถึงกาลเทศะที่ควรพูด เช่น ทักท้วงเมื่อเห็นผู้ทำผิดหรือทำสิ่งไม่เหมาะสม เสนอความคิดเห็นหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนากิจการงาน กล้าพูด กล้าแสดงความจริงใจและรับผิดชอบต่อคำพูดของตน เมื่อพูดเรื่องใดไปแล้ว เกิดผลเสียหาย ต้องยอมรับว่าตนพูดไปจริง และยอมรับผิด โดยกล่าวคำขอโทษ หรือถอนคำพูด
มารยาทในการพูด
มารยาท หมายถึง กิริยาอาการที่แสดงออก ให้ปรากฏทางกายและทางวาจา อย่างถูกต้อง เรียบร้อยงดงาม ตามคตินิยมของคนในสังคมมารยาทเป็นเครื่องหมายของความเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมที่ดีงาม การพูดให้ประสบความสำเร็จต้องคำนึงถึงมารยาทตามคตินิยมของสังคมมารยาทในการพูด จะมุ่งเน้นมารยาทที่แสดงออกทางวาจาเป็นประเด็นหลัก เช่น ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ
การพูดในโอกาสต่างๆ

การทักทายปราศรัย

การทักทายเป็นทุกมารยาทของสังคม เมื่อพบคนที่รู้จักกันย่อมต้องทักทายปราศรัยกันเพื่อแสดงไมตรีที่มีต่อกัน  ในการทักทายปราศรัยควรใช้ถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังสบายใจคนแต่ละชาติอาจทักทายด้วยถ้อยคำที่ต่างกัน  เช่น  คนไทยนิยมทักว่า ไปไหนมา โดยมิได้เจตนาแท้จริงว่าต้องการรู้คำตอบ  หรืออยากรู้เรื่องส่วนตัวของผู้อื่น คนตอบจะตอบเพียงเพื่อแสดงไมตรีเท่านั้น ไม่ถือเป็นเรื่องจริงจังนักคนที่สนิทสนมกันอาจทักด้วยเรื่องที่ใกล้ตัว  เช่น  ทำการบ้านหรือยัง  กินข้าวหรือยัง  มาโรงเรียนแต่เช้าเลยนะ  วันนี้ใครมาส่ง  การทักทายผู้ใหญ่หรือผู้ที่ไม่คุ้นเคย ต้องใช่ถ้อยคำที่สุภาพตามแบบที่นิยมกัน  เช่น  สวัสดีค่ะ  หรือ  สวัสดีครับ  พร้อมกับน้อมไหว้แสดงความเคารพ  และอาจถามตามมารยาทว่าคุณครูสบายดีหรือค่ะ  ท่านสบายดีหรือครับ  หรือทักทายตามสถานการณ์  เช่น  ท่านออกกำลังกายหรือค่ะ  คุณครูกำลังจะไปสอนหรือครับ  คุณยายมาทำบุญหรือค่ะ

การแนะนำตัวเอง
ในบางโอกาส เราจำเป็นต้องแนะนำตัวเองว่าเราเป็นใคร และสาเหตุที่แนะนำตนเองนั้นมีจุดมุ่งหมายใด เช่น นักเรียนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำชมนิทรรศการของโรงเรียน เมื่อผู้ชมงาน นักเรียนต้องพูดแนะนำตนเอง บอกชื่อ บอกชั้นเรียน และบอกหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายนักเรียนที่ไปติดต่อหน่วยงาน หรือสถานที่บางแห่ง เช่น สถานที่ฝึกงานระหว่างปิดภาคเรียน เมื่อไปถึงสถานที่นั้น ต้องแนะนำตนเองว่าชื่ออะไร เรียนอยู่ชั้นใด โรงเรียนใด และแจ้งธุระที่มาติดต่อให้ขัดเจนในงานเลี้ยงต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ บางครั้ง ต้องนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับผู้อื่น อาจแนะนำตนเองด้วยการบอกชื่อ บอกความสัมพันธ์กับเจ้าของงาน แต่ควรระมัดระวังไม่ให้เป็นการอวดตน ฝ่ายคู่สนทนาก็ควรแนะนำตนเอง ไม่ควรรีรอ เพราะอาจทำให้อีกฝ่ายอึดอัด ไม่สบายใจการแนะนำตนเองไม่ว่าโอกาสใด ควรขึ้นต้นว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ เพื่อแสดงความสุภาพ
การสนทนา 

การสนทนา เป็นกิจกรรมที่คน 2 คนหรือมากกว่า พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ระหว่างกัน ในโอกาสหรือสถานการณ์ต่างๆ เช่น การสนทนาในที่ชุมชน การสนทนาในรายการโทรทัศน์ การสนทนากับบุคคลเพิ่งรู้จักในงานสังคมต่างๆในการสนทนา ควรเลือกเรื่องที่ตนเอง และคู่สนทนามีความรู้และความสนใจร่วมกันอาจจะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือเป็นเรื่องที่กำลังเป็นข่าว เรื่องที่เหมาะกับกาลเทศะ เช่น การสนทนาในงานมงคลสมรส ควรพูดถึงแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่พูดเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ ขณะรับประทานอาหาร ไม่ควรพูดเรื่องหวาดเสียว หรือเรื่องที่ชวนให้รังเกียจขยะแขยง
การพูดติดต่อทางโทรศัพท์และการรับโทรศัพท์
 
เมื่อมีผู้โทรศัพท์ติดต่อไป  ผู้รับโทรศัพท์ควรพูดทักทายก่อน  ส่วนผู้ติดต่อไปควรแจ้งแก่ผู้รับโทรศัพท์ให้ชัดเจนว่า  ตนเป็นใครประสงค์จะพูดกับใคร  เรื่องใดและควรพูดให้กระชับ  เพื่อจะได้ไม่เสียเวลา  ผู้รับโทรศัพท์ควรพูดด้วยเสียงที่เป็นมิตร  แสดงความมีน้ำใจในการฝากข้อความ  และถามเกี่ยวกับข้อความที่รับฝากให้ถูกต้องครบถ้วน  เมื่อต้องตามผู้อื่นให้มารับโทรศัพท์  ควรบอกผู้ติดต่อให้ชัดเจนว่าบุคคลที่ผู้ติดต่อต้องการจะพูดด้วยนั้นอยู่ที่ใด  ถ้าต้องตามมารับโทรศัพท์จะใช้เวลามากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างการพูดโทรศัพท์
๑.ผู้รับ  :     สวัสดีค่ะ
ผู้ติดต่อ  :  สวัสดีครับ ผมอรรคพล ขอพูดกับอาจารย์กาญจนา ครับ
ผู้รับ  :     กำลังพูดอยู่ค่ะ
ผู้ติดต่อ  :  ผมขอเวลาอาจารย์ตอนนี้ได้ไหมครับ
ผู้รับ  :     ได้ค่ะ
ผู้ติดต่อ  :  (พูดธุระของตนเอง)
๒.ผู้รับ  :     สวัสดีครับ  บ้านคุณบรรเจิดครับ
ผู้ติดต่อ  :   ขอพูดกับคุณบรรเจิดค่ะ
ผู้รับ  :      ตอนนี้คุณพ่อไม่อยู่ครับ จะฝากข้อความไหมครับ
ผู้ติดต่อ  :   ขอฝากข้อความว่า  เพื่อนชื่อวัชรินทร์  ขอเลื่อนนัดส่งต้นฉบับหนังสือไปเป็นวันพรุ่งนี้  เวลาเดิมได้หรือไม่  ให้ติดต่อกลับด้วยค่ะ
ผู้รับ  :     ขอเบอร์ติดต่อกลับด้วยครับ
ผู้ติดต่อ  :  เบอร์ 0 2277  7777 ค่ะ
ผู้รับ  :     ขอทวนนะครับ  ฝากข้อความว่า  เพื่อนชื่อวัชรินทร์โทรมาถามว่าขอเลื่อนนัดส่งต้นฉบับหนังสือไปเป็นวันนี้เวลาเดิมได้หรือไม่ ขอให้ติดต่อกลับ เบอร์ 0 2277 7777
ผู้ติดต่อ  :  ถูกต้องค่ะ  ขอบคุณค่ะ สวัสดีค่ะ
ผู้รับ  :     สวัสดีครับ

คิดตรอง  ลองทำดู
แบ่งกลุ่มแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพูดจากบทประพันธ์ต่อไป
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์                      
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร           
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

นิราศภูเขาทอง ของ พระสุนทรโวหาร
จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น               
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู                     
 คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ
แม้จะเรียนวิชาทางค้าขาย                  
 อย่าปากร้ายพูดจาอัชฌาสัย
จึงซื้อง่ายขายดีมีกำไร                        
ด้วยเขาไม่เคืองจิตรคิดระอา
เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก             
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา                     
จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ


นิราศพระบาท ของ พระสุนทรโวหาร

คิดก่อนจึงค่อยทำจงจำไว้  
ทำอะไรต้องคิดทั้งหน้าหลัง
อย่าปล่อยตัวให้ทำตามลำพัง          
ต้องเอาใจเหนี่ยวรั้งเสมอไป
ก่อนจะทำสิ่งใดใจต้องคิด               
ถูกหรือผิดทำอย่างนี้ดีหรืไม
ถ้าหากเห็นว่าไม่ดีมีโทษภัย              
ต้องหาทางทำใหม่ทำให้ดี

พรจากพ่อ ของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

ช่วยกันหาสำนวนที่คล้ายหรือตรงข้ามกับสำนวนขวานผ่าซากพร้อมยกตัวอย่างพฤติกรรมหรือการแสดงออกตามสำนวนนั้นๆ ประกอบร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างคำว่า  มารยาทดี  กับ  มีสมบัติผู้ดีพิจารณาว่าในห้องเรียนว่ามีใครบ้างที่มีคุณลักษณะ  เป็นผู้มีน้ำใจดีหรือ  มีมนุษยสัมพันธ์ดี  พร้อมแสดงพฤติกรรมที่ประจักษ์เพื่อสนับสนุนความคิดเห็นนั้นครูนำสนทนาให้นักเรียนแสดงความเห็นว่า  การสำรวมกิริยาอาการนั้นคืออย่างไรจับคู่สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนักพูดที่นักเรียนชื่นชอบระบุชื่อ  ความสามารถในการพูด  แบบอย่างที่นักเรียนสนใจที่จะฝึกฝนฝึกเขียนบทและแสดงบทบาทสมมติโดยเลือกหัวข้อต่อไปนี้  หรือ  ตั้งหัวข้อที่น่าสนใจขึ้นมาใหม่บทสนทนาเกี่ยวกับมารยาทการพูดในที่สาธารณะบทสนทนาโต้ตอบทางโทรศัพท์  สอบถามรายระเอียดเพื่อสั่งซื้อหนังสือที่ต้องการบทสนทนาโต้ตอบทางโทรศัพท์เพื่อขอข้อมูลในจังหวัดหรืออำเภอที่นักเรียนอยู่กลวิธีการพูดและการแสดงออกที่ให้ความสำคัญกับคู่สนทนา

คิดเพิ่ม  เสริมทักษะ
เขียนคำขวัญหรือแต่งคำประพันธ์แสดงความสำคัญของการพูดผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้นำไปติดที่ป้ายนิเทศของห้องเรียนเพื่อให้เพื่อนๆได้อ่านทั่วกันฝึกพูดแนะนำตนเองโดยสมมติว่านักเรียนเป็นนักเรียนใหม่  ต้องย้ายมาโรงเรียนใหม่เพราะพ่อของนักเรียนเพิ่งย้ายมาประจำอยู่ในอำเภอหรือในจังหวัดที่โรงเรียนใหม่ของนักเรียนตั้งอยู่ศึกษาค้นคว้าลักษณะการพูดรูปแบบต่างๆ ที่ตนสนใจแล้วนำมาแลกเปลี่ยน เวียนกันอ่านในห้องเรียนรวบรวมคำประพันธ์ที่ไพเราะน่าสนใจเกี่ยวกับการพูด บอกแหล่งที่มาแล้วนำไปติดที่ป้ายนิเทศของห้องเรียนต่อไปศึกษาเพิ่มเติมว่าขนมลอดช่องคือขนมประเภทใด  มีวิธีทำและที่มาอย่างไร  แล้วนำข้อมูลที่ได้รวบรวมศึกษานั้นไปติดไว้ที่ป้ายนิเทศของห้องเรียนให้เพื่อนๆ  ได้เรียนรู้ด้วย

ขอขอบคุณ http://www.khetsarin42.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิวิธภาษาเรื่องลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง

                                                           
ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง
ผู้แต่ง                        ชมัยภร แสงกระจ่าง
ลักษณะคำประพันธ์  ร้อยแก้วประเภทเรื่องสั้น
ที่มา                  จากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิวิธภาษาชั้นม.2  บทที่ 2
                                   เรื่อง ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  ตั้งแต่หน้า 16-27
เนื้อเรื่อง
เรามีกันสามคน ผม เจ้าหนุ่ม แล้วก็เจ้าดาว อย่าแปลกใจไปเลยครับ กลุ่มเราผู้ชาย
สอง ผู้หญิงหนึ่งครับ แต่อย่าเผลอไปบอกเจ้าดาวเลยนะครับ มันโกรธตาย เพราะมันบอก
ว่า ฉันก็ลูกผู้ชายคนหนึ่ง ส่วนเจ้าหนุ่มนั้นก็ห้าวเสียจนผมกลัวใจ
เวลาอยู่โรงเรียนเราก็ไปไหนมาไหนด้วยกัน เจอกันแต่เช้าทุกเช้าคำว่าเช้าของเรา
อาจไม่ได้แปลว่าเช้านะครับแปลว่าสายของคนอื่นเพราะกว่าผมจะโผล่มาถึงโรงเรียน
ได้ก็เป็นอันสายแล้วทุกที กลุ่มเราก็มักจะเป็นกลุ่มที่ครูจ้องเป็นพิเศษ ไม่ใช่จ้องให้
รางวัลหรืออะไรหรอกนะครับ    แต่เป็นกลุ่มพิเศษที่ครูจ้องจะทำโทษ ส่วนเราก็จ้อง
เป็นพิเศษเหมือนกันครับ จ้องไม่ให้ครูทำโทษเราได้ เช่นว่า
ครูเขาตั้งกฎไว้ว่า ถ้ามาสายเกิน 5 ครั้งจะหมดสิทธิ์สอบ เราก็จ้องเป็นพิเศษที่จะมาสาย
แค่ 4 ครั้ง พอถึงครั้งที่ห้า เราก็จะพยายามทำให้ครูผิดหวัง หรือครูตั้งกฎไว้ว่า ห้าม
เตะบอลบนระเบียงโรงเรียน เราก็ไม่เคยแตะกันเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่เตะกันนั้นคือที่
สนาม แต่ก็เตะกันจนกระทั่งกระจกหน้าต่างแตกได้ ทั้งที่หน้าต่างอยู่บนระเบียง
เห็นไม่ครับว่าผมและเพื่อนๆไม่ได้ทำผิดระเบียบของโรงเรียนแต่อย่างใดเลย
เราสามคนไปไหนก็ไปด้วยกัน เวลาเดินไปกินข้าวผมก็จะเอามือไสหัวเจ้าดาว
ไปด้วยเพราะมันตัวเล็กกว่าใครๆทั้งหมด แกล้งมันง่ายกว่าคนอื่น มันก็หันมาร้องว่า
ผมด้วยสำนวนแย่ๆของมัน"หัวกู" มันว่า "อย่ามายุ่ง"
เรื่องมันเป็นดังนี้ได้ทุกวัน จนกระทั่งวันหนึ่ง อาจารย์เทวีเดินมาเห็นผมกำลัง
ไสหัวเจ้าดาวเข้าพอดี และเจ้าหนุ่มกำลังยกเท้าขึ้นเตะก้นผม อาจารย์กวักมือ เรียกเรา
สามคนเข้าไปหา แล้วก็ทำโทษข้อหามีกิริยามรรยาทไม่สุภาพ แถมยังได้ยินเราพูดกัน
ด้วย ก็เลยเพิ่มอีกหนึ่งข้อหา คือ พูดจาหยาบคาย ไม่มีสมบัติผู้ดี
ผมก็ไม่รู้หรอกว่าสมบัติผู้ดีน่ะมันเป็นอย่างไร เพิ่งจะได้ยินข้อหาจากอาจารย์เทวี
เป็นครั้งแรก ก็ออกจะแปลกใจอยู่ยังกระซิบบอกเจ้าดาวมันว่า "ไม่รู้..." มันทำท่าจะต่อ
"โว้ย" แต่พอดีนึกได้ว่ากำลังอยู่ระหว่างทำโทษมันก็เลยหุบปากแน่น
หลังจากกินข้าวกลางวันแบบไม่อร่อยที่สุดในโลกแล้ว อาจารย์ก็ทำโทษโดยให้
  เจ้าหนุ่มมันรำคาญก็ผลักผมเซไป ผมก็เลยไปชนเจ้าดาว เท่านั้นแหละก็
เป็นเรื่องทันที เพราะเจ้าดาวมันตัวเล็ก ผมไปชนมันเข้า มันก็กระเด็นไปชนถึงขยะต่อ
จากถังขยะก็ไม่มีใครให้ชนแล้ว มันก็เลยล้มตึงเจ้าดาวเสียหลักล้มตามถังขยะไป
อีกทีหนึ่ง
ลองนึกภาพเอาเองก็แล้วกันว่า มันจะโกลาหลขนาดไหน แค่เดินเก็บขยะ คน
เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง ผมก็อายใครต่อใครอยู่แล้ว นี่พอถังขยะล้มแถมด้วยเจ้าดาวล้มตาม
แล้วผมยังเป็นจำเลยฐานทำเจ้าดาวล้มอีก ผมเลยกลายเป็นเป้าเด่น    ไม่แต่น้องก้อย
เท่านั้นที่เห็นผม    คนทั้งโรงเรียนเลยครับ    ไม่เว้นแม้แต่ครูและภารโรง
           ผมรีบเข้าไปช่วยเจ้าดาว จัดการหิ้วปีกมันขึ้นมา มองไปก็เห็นสายตาของน้องก้อย
ยิ้มเยาะอยู่ ผมก็ยิ่งประสาท
"นายประภานนท์"
นั่นเป็นเสียงของอาจารย์พิเชษฐ์ อาจารย์ฝ่ายปกครองที่เขาลือกันว่าดุกว่าเสือ
ผมอยากกระโดหลบหลังเจ้าหนุ่มแต่ก็ไม่สามารถทำได้ ผมทำได้อย่างเดียวคือ
เดินเชื่องๆออกไปหาเจ้าของเสียงเหี้ยมนั้น
"นั่นเพื่อนผู้หญิงนะ"
อาจารย์ชี้ไปที่เจ้าดาวที่ยืนทำหน้าพิลึกพิลั่น
"เธอไปแกล้งเขาอย่างนั้นได้อย่างไร"
"ผมไม่ได้แกล้งนะครับ" ผมรีบปฏิเสธ
"ไม่ต้องปฏิเสธเลย ลูกผู้ชายทำผิดแล้วต้องรับผิด แค่แกล้งผู้ชายด้วยกันก็ผิด
แล้ว นี่ยังแกล้งเพื่อนผู้หญิงอีกอาจารย์เทวีบอกว่าเธอแกล้งดุจดาว ถึงได้ถูกทำโทษ
แล้วนี่ระหว่างการทำโทษ ยังแกล้งเขาต่ออีก"
ผมโดนข้อหาฉกรรจ์ล้วนๆ
"ก็ได้ครับ ลูกผู้ชายต้องรับผิด" ผมนึกอยู่ในใจ แอ่นอกขึ้นรับผิด
"ผมผิดครับ" ผมตะโกนออกไปเต็มเสียง
นอกจากเก็บขยะคนเดียวในวันนั้นแล้ว ในตอนเย็นผมยังต้องช่วยงาน
อาจารย์พิเชษฐ์ในเรือนต้นไม้อีกเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็มๆ
เชื่อไหมครับ อาจารย์พิเชษฐ์ที่ว่าดุเป็นเสือ แกชอบต้นไม้เสียจริงๆ ให้ผมยก
ต้นไม้เข้า ยกต้นไม้ออก ยกดิน ยกปุ๋ย  ยกบ้า ยกบอ ยกอะไรนักไม่รู้ ลากสายยาง เปิดน้ำ
หยดฮอร์โมน หยดเกสร โอ๊ย! สารพัดแหละครับ จนค่ำย่ำเย็น    พอกลับไปถึงบ้าน แม่ก็
ยืนหน้าคว่ำรออยู่ ผมไม่กล้าบอกว่าผมถูกทำโทษ เอาแต่บอกว่าผมมีการบ้านต้องทำที่
โรงเรียนทุกวัน  จนพี่ไก่ไปกระซิบบอกแม่ว่าอะไรไม่รู้ แม่ถึงได้เลิกว่าผม ผมมารู้อีก
ทีหนึ่งว่าเจ้าดาวแหละไปรายงานพี่ไก่  พี่ไก่ก็เลยไปรายงานแม่ทุกอย่างก็เลยสงบดี
เป็นอันว่าเขารู้กันหมดแล้วว่า ผมถูกทำโทษ
นับตั้งแต่ผมถูกทำโทษ ผมมึนตึงกับเจ้าดาว เพราะมันเป็นต้นเหตุ ให้ผมอาย
ผู้หญิงที่ผมแอบชอบ มันเคยตามผมมาที่เรือนต้นไม้ แต่ผมไล่มันกลับไป
"แกไม่ต้องไม่ยุ่ง"
มันทำหน้ามุ่ย
"แกไม่เป็นลูกผู้ชายไล่ผู้หญิง"
"แล้วแกล่ะเป็นลูกผู้หญิงหรือเปล่า ไอ้บ้าเอ๊ย"
มันโมโหที่ผมไปตีถูกขนดหางมัน มันก็เลยกระแทกเท้าป้าปๆจากไป อาจารย์
พิเชษฐ์มาจากไหนไม่รู้มายืนอยู่ข้างหลังผม พูดกับผมขึ้นเบาๆว่า
"ประภานนท์ ครูรู้นะว่าเราไม่ได้อยากว่าผู้หญิงถึงขนาดนั้น แต่ตอนเราอายุ
เท่านี้ เรามักทำอะไรไม่ถูก  เพื่อนผู้หญิงบางคนก็ดูเป็นผู้หญิง บางคนก็ดูเป็นเหมือน
เพื่อนผู้ชาย เราแยกออกจากกันไม่ได้ บางเวลาเราก็อยากจะจีบผู้หญิง  บางเวลาเราก็
อยากปฏิบัติต่อผู้หญิงเหมือนผู้ชาย"
ผมมองหน้าอาจารย์พิเชษฐ์ด้วยความแปลกใจ อาจารย์ที่ว่าดุเป็นเสือเอาเข้าจริง
แล้ว ก็ไม่เลวนักหรอก
"จริงครับ บางทีผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำอย่างไรดี เป็นผู้ชายนี่ลำบากนะครับ"
อาจารย์พิเชษฐ์หัวเราะ
"ผู้หญิงเขาก็เป็นเหมือนเรานั่นแหละ ต่างคนต่างลำบาก ค่อยๆดูไป  เดี๋ยวมัน
ก็จะดีไปเอง ไม่ต้องรีบร้อนเป็นลูกผู้ชายหรอก แล้วก็ไม่ต้องหนีที่จะเป็น"
ว่าแล้วอาจารย์พิเชษฐ์ก็หัวเราฮ่า ๆ ๆ คำสอนและเสียงหัวเราะของอาจารย์ทำให้
ผมดีขึ้นมากเลยครับ เวลาจะเป็นลูกผู้ชายก็ต้องคิดแล้วคิดอีก แล้วก็ค่อยๆเป็นแบบอาจารย์ว่า
ข้อคิด 1.เสนอมุมมองเชิงจิตวิทยาพัฒนาวัยรุ่นชาย
2.
เด็กทุกคนควรมีความรับผิด ซื่อสัตย์ ยุติธรรม เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาผูกเป็นเรื่อง ด้วยกลวิธีเล่าเรื่องและสอดแทรกสนทนา ซึ่งทำให้เรื่องสมจริงและมีชีวิตชีวา น่าอ่าน ผู้เขียนต้องการสะท้อนความคิด ความรู้สึกพฤติกรรมบางอย่างของวัยรุ่น และให้ข้อคิดแก่วัยรุ่นให้รู้จักความเป็นลูกผู้ชายรู้จักการมองเห็นในแง่ดีและรู้จักความรับผิดชอบ
                เรื่อง ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  เป็นงานเขียนประเภทบันเทิงคดีที่เรียกว่าเรื่องสั้นมีจุดมุ่งหมายเขียนเพื่อให้บันเทิงแก่ผู้อ่านเป็นสำคัญงานเขียนประเภทบันเทิงคดีอาจเป็นเรื่องที่เขียนจากเหตูการณ์ที่เกิดจริงเป็นเรื่องที่เกิดจาก   จินตนาการหรือการสมมุตินักเรียนที่เขียนเก่งมักเขียนได้สมจริงมากที่สุด งานเขียนประเภทบันเทิงคดีมีหลายรูปแบบ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ฯลฯ นักเขียน เรื่องสั้น นอกจากจะสร้างเรื่องให้ผู้อ่านอ่านให้สนุกแล้ว  มักจะสองแทรกแง่คิดค่านิยมหรือประเด็นปัญหาบางประการผู้อ่านที่รู้วิที่การวิเคราะห์และประเมินค่างานเขียนจะได้ประโยชน์จากการอ่านเพิ่มขึ้นด้วย
ลักษณะและองค์ประกอบของเรื่องสั้น
คำว่า เรื่องสั้น แปลจากคำภาษาอังกฤษว่า  short  story เรื่องสั้นโดยทั่วไปจะมีลักษณะ และองค์ประกอบที่ควรสังเกตดังนี้
๑.มีโครงเรื่องง่ายไม่ซับซ้อน  ดังเรื่องลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริงมีโครงเรื่องที่เสนอพฤติกรรมของวัยรุ่นที่สนใจใคร่เรียนรู้การเป็นลูกผู้ชาย
๒.มีแนวคินที่สร้างความประทับใจเพียงแนวคิดเดียว  ดังเรื่องลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  ก็คือ  ผู้ใหญ่รู้และเข้าใจธรรมชาติของวัยรุ่น  พร้อมที่จะให้โอกาสชี้แนะให้เห็นแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมยามที่เขาต้องการความช่วยเหลือ
๓. มีตัวละครที่่่่่่่มีบทบาทสำคัญไม่มากนัก    ตัวประกอบอื่นอาจมีตามความจำเป็น  แต่มักไม่เกิด  ๕  ตัวดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย..ตัวเกือบจริง  มีตัวละครสำคัญที่เป็นตัวดำเนินเรื่อง  คือประภานนท์มีจุดดาว  หมุ่น  อาจารย์เทวี  และอาจารย์เชษฐ์เป็นตัวประกอบ
๔.ดำเนินเรื่องรวดเร็ว  กระชับ  ดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  นี่เมื่อเปิดเรื่องและแนะนำตัวละครแล้วก็ดำเนินเรื่องได้กระชับและรวบเร็วโดยอาศัยเหตุการณ์ที่ทำให้ประภานนท์ต้องแสดงตนเป็น"ลูกผู้ชาย"
๕.สร้างเหตุการณ์ที่เป็นปนปัณหาหรือเสนอปนปัญหาหรือความขัดแย้งของผู้อ่านเข้าใจเรื่อง ดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง
ได้สร้างเหตุการณ์ในประภานนท์ถูกอาจารย์ฝ่ายปรกครองเข้าใจผิดคิดว่าไปกลั่นแกล้งดุจดาว

๖.ไม่เน้นฉากหรือบรรยากาศในเรื่อง  และไม่ไม่นิยมพรรณนารายละเอียดแต่กล่าวถึงเรื่องสั้นๆ   ตรงๆ พอที่จะให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ ดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย..ตัวเกือบจริง  ฉากของเรื่องนี้เป็นโรงเรียนของตัวละครทั้งสาม
๗.ปิดเรื่องโดยการหักมุมที่ผู้อ่านไม่คาดคิด  แต่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดหรือจุดมุ่งหมายของเรื่องได้  ดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  ในแนวคิดซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของการเสนอเรื่องว่า  วัยรุ่นจะต้องค่อยๆ  เรียนรู้และปรับตนให้เหมาะสมกับวัย  ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน๘.มีบทนาที่สร้างความสมจริงตามธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์เพื่อบอกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ทำให้ทราบถึงอารมณ์  ความรู้สึกบุคลิกของลักษณะ  และคุณธรรฒของตัวละคร

การประเมินคุณค่าของเรื่องสั้น
เมื่ออ่านเรื่องสั้นแต่ละเรื่อง  นอกจากจะต้องจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร  มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง  เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลอะไรตามมาผู้อ่านควรคิดพิจารณาและวิเคราะห์เพื่อประเมินคุณค่าของเรื่องที่ได้อ่านไปแล้วนั้นด้วย  โดยพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
๑.ความสนุกสนานเพลิดเพลินที่ได้รับมีน้อยเพียงไร
เรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  เป็นเรื่องสั้นที่อ่านได้สนุกเพลิดเพลินเรื่องหนึ่งผู้อ่านวัยรุ่นน่าจะสนใจติดตามอ่าน  เพราะเนื้อหาเป็นราวที่สะท้อนพฤติกรรมของวัยรุ่น  และอาจตรงกับความคิดหรือผู้อ่านกำลังเผชิญอยู่
๒.สาระความรู้  แนวคิด  และแนวปฎิบัติที่สะท้อนพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์มีว่าอย่างไรอาจหยิบหยกเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของผู้อ่านหรือผู้อ่านหรือบุคคลที่แวดล้อมใกล้ชิดได้มากน้อยเพียงไร
เรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริงเมื่ออ่านแล้วจะได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อต่อ

๒.๑.ความรู้ความเข้าใจทางจิตวิทยาด้านพัฒนาการวัยรุ่นเกี่ยวกับความคิดที่สับสนและความต้องการแสวงหาแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเป็น  "ลูกผู้ชาย"

๒.๒.ความเข้าใจความหมายของ "ลูกผู้ชาย"
๒.๓.แนวคิดและแนวปฎิบัติของผู้ใหญ่ที่พึ่งมีต่อศิษย์หรือบุตรหลานวัยรุ่นที่กำลังสับสนกับพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองและต้องการเวลาปรับตัว
๒.๔.กลวิธืในก่รดน้มน้าววัยรุ่นให้รู้  เข้าใจ  และยอมรับในการพัฒนาการช่วงวัยรุ่น  ยอมรับความผิด  การกระทำของผู้ใหญ่ว่ามีเจตนาที่ดี  มีความรัก  ความหวังดี  อยากให้เด็กเป็นคนดี  น่ารัก  ประพฤติตนถูกต้อง  เหมาะสม  เคารพกฎ  กติกา  ระเบียบ  และกฎหมายของสังคม
๓.การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม  พฤติกรรมของตังละครในเหตุการณ์ต่างๆสะท้อนให้เห็นคุณค่าของความเป็นมนุ ษย์ที่สังคมยอมรับมากมากน้อยเพียงไรพฤติกรรมของตัวละครสามารถนำไปเป็นแบอย่างหรือควรนำไปปฏิบัติตามหือไมท่อย่างไร
เรื่อง  ลูกผู้ชาย..ตัวเกืิอบจริงได้แทรกคุณคุณธรรมจริยธรรมต่อไปนี้
๓.๓. การเคารพกฎระเบียบของโรงเรียนหรือสังคม
๓.๒ .ความประพฤติที่เหมาะสมของหญิงชายที่สุ ภาพชน
๓.๓. ศักดิ์ศรีของความเป็นลูกผู้ชาย
๓.๔.ความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเมื่่อทำความผิดก็ยอมรับผิดและยอมรับโทษ
๓.๕.ความเป็นกัลยาณมิตรพึงมีต่อศิษย์
๔.การใช้ภาษาเพื่ิดำเนินเรื่องและสร้างความเป็นจริง  มีความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนมากน้อยเพียงใด
     มีข้อควรสังเกตว่าภาษาที่ใช้ในบทสนทนาขิงเรื่องสั้นนั้นอาจใช้ภาษาที่เป็นแบบแผนหรือเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเพราะต้องใช้ภาษาให้เขัากับบุคลิกลักษณะและบทบาทของตัวละคร  จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำไปใช้ด้วย

คำซ้อน๔จังหวะ
คำซ้อนคำหนึ่งประกอบด้วยคำเรียงกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป แต่ละคำมีความหมายใกล้เคียงกันก็มี หรือตรงข้ามกันก็มี เมื่อประกอบเข้ากันแล้ว จะทำให้มีคำใช้เพิ่มขึ้นในภาษา 
ตัวอย่าง
- เกี่ยวข้อง หมายถึง มีความสัมพันธ์กัน ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ เกี่ยว ซึ่งหมายถึง ยึดหรือเหนี่ยวเข้ามาติดกับคำ ข้อง ซึ่งหมายถึงติดอยู่
- ขัดขวาง หมายถึง ทำให้ดำเนินไปไม่สะดวก ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ ขัด ซึ่งหมายถึง ทำให้ติดขวางไว้ไม่หลุดออกกับคำ ขวาง ซึ่งหมายถึง กีดกั้น
- ส่งเสริม หมายถึง ช่วยให้ดีขึ้น เจริญขึ้น สะดวกขึ้น หรือทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น
ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ ส่ง ซึ่งหมายถึง ทำให้ เคลื่อนไปด้วยดี กับคำ เสริม ซึ่งหมายถึง เพิ่มเติมให้พอเหมาะ
คำซ้อนบางคำอาจมีความหมายไม่ต่างกับความหมายของคำที่ซ้อนกันมากนัก แต่บางคำอาจเปลี่ยนความหมายไปบ้าง
ตัวอย่าง
- คัดเลือก หมายถึง พิจารณาคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ เพื่อเอาเฉพาะสิ่งที่ต้องการไว้และ ตัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป มากหนัก
- ค้ำจุน หมายถึง อุดหนุนให้ดำรงอยู่ได้ มีความหมายเปลี่ยนไปจากคำ ค้ำ ซึ่งหมายถึง เอาวัตถุที่แข็งแรง เช่น ไม้ ยันวัตถุอีกสิ่งหนึ่งไว้เพื่อไม่ให้ล้ม กับคำ จุน ซึ่งหมายถึง ใช้วัตถุขนาดเล็กยันพอปะทะปะทังวัตถุอีกสิ่งหนึ่ง ไว้ไม่ให้ล้ม

คำซ้อนบางคำ คำใดคำหนึ่งอาจมิได้ใช้ทั่วไป แต่ใช้เฉพาะในภาษาถิ่นบางถิ่น หรืออาจเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ซึ่งมีความหมายเดียวกันหรือทำนองเดียวกันกับอีกคำหนึ่ง
ตัวอย่าง
- เสื่อสาด คำ สาด เป็นคำภาษาถิ่น หมายถึง เสื่อ
- สร้างสรรค์  สรรค์ เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง สร้าง
- ห้าวหาญ  หาญ เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร หมายถึง กล้า
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้อน
๑.คำซ้อนในภาษาไทยจำนวนไม่น้อยประกอบด้วยคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน เช่น เกลี้ยงเกลา แกว่งไกว ขยับเขยื้อน เคลื่อนคล้อย แจ่มแจ้ง เชิดชู
๒.คำพยางค์เดียวหรือคำสองพยางค์ อาจซ้อนกันได้ กลายเป็นคำซ้อน ๔ พยางค์ เช่น ป่าดงพงไพร กระเซ้าเย้าแหย่ แม่น้ำลำคลอง บรรเทาเบาบาง
๓.หากคำซ้อนคำพยางค์เดียวกับคำ ๒ พยางค์ มักมีการเติมพยางค์อีก ๑ พยางค์ เพื่อให้กลายเป็น คำซ้อน ๔ พยางค์ เช่น ขโมยขโจร สงบงบเงียม
๔.คำซ้อน ๔ พยางค์ อาจมีสัมผัสสระ เช่น คุยโม้โอ้อวด ตีอกชกหัว ถนนหนทาง และอาจมี การซ้ำพยางค์ที่ ๑ กับ ๓ เช่น หัวจิตหัวใจ ห้องน้ำห้องท่า                                  

                             
                                     บทเสริม      
เป็นคนควรสงวนนวงศ์ไว้จงนัก          ถนอมรักษาตัวเหมือนหัวแหวน
อย่าปนปัดให้เขาหลู่มาดูแคลน          ถึงยากแค้นรักรักนวลสงวนกาย
จงดูเยี่ยงจามมีสัตย์มั่น                     แต่ขนข้องอยู่เท่านั้นไม่หนีหาย
คอยเปลื่องปดเสียหมดราคีคาย         ไม่เสียดายชีวาตม์จะขาดกระเด็น
                                                   
                                                     สุภาษิตสอนเด็ก,  ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
   คิดตรอง   ลองทำดู    
แบ่งกลุ่มแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่อไปนี้  แล้วให้ผู้แทนกลุ่มสรุปให้เพื่อนๆฟัง
๑.ความหมายของชื่อเรื่อง  และความหมาย    "ลูกผู้ชายตัวเกือบจริง"
๒.ความเหมาะสมภาษาที่ใช้ในเรื่อง  เช่นเพื่อนพูดกับเพื่อน  นักเรียนกล่าวถึงครู
๓.วิธีชักชวนให้นักเรียนปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน
๔.การโน้มน้าวใจให้นักเรียนพูดจาไพเราะ
๕.ลักษณะที่เป็นคุณสมบัติที่ดี
๒.ฝึกเขียนบรรยายเรื่องราวจากเหตุการณ์หรือสิ่งประทับใจที่พบเห็น  แล้วให้เพื่อนแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุง
๓.จับคู่วิเคราะห์พฤติกรรมที่ดีของเพื่อน  และให้บอกพฤติกรรมดังกล่าวมีผลต่อมิตรภาพระหว่างเพื่อนอย่างไรบ้าง
๔.ฝึกวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครจากวรรณกรรมหรือวรรณคดีที่นักเรียนชอบแล้วนำเสนอให้เพื่อนๆร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

                                          คิดเพิ่มเสริมทักษะ
๑.กิจกรรมอภิปายหรือโต้วาทีตามดอกาสอันควร  หัวข้อ  คือ
                                   เป็นผุ้หญิงแท้แสนลำบาก   เป็นชายยิ่งยากกว่าหยายเท่า
๒.อ่านเรื่องสั้นเรื่องอื่นเพิ่มตามความสนใจ  แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง
๓.แนะนำเรื่องสั้นที่น่าสนใจให้เพื่อนร่วมชั้นอ่าน  เล่าเรื่องย่อ  และวิเคราะห์คุณค่าเรื่องสั้นนั้นโดยสังเขป