วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิวิธภาษาเรื่องลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง

                                                           
ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง
ผู้แต่ง                        ชมัยภร แสงกระจ่าง
ลักษณะคำประพันธ์  ร้อยแก้วประเภทเรื่องสั้น
ที่มา                  จากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิวิธภาษาชั้นม.2  บทที่ 2
                                   เรื่อง ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  ตั้งแต่หน้า 16-27
เนื้อเรื่อง
เรามีกันสามคน ผม เจ้าหนุ่ม แล้วก็เจ้าดาว อย่าแปลกใจไปเลยครับ กลุ่มเราผู้ชาย
สอง ผู้หญิงหนึ่งครับ แต่อย่าเผลอไปบอกเจ้าดาวเลยนะครับ มันโกรธตาย เพราะมันบอก
ว่า ฉันก็ลูกผู้ชายคนหนึ่ง ส่วนเจ้าหนุ่มนั้นก็ห้าวเสียจนผมกลัวใจ
เวลาอยู่โรงเรียนเราก็ไปไหนมาไหนด้วยกัน เจอกันแต่เช้าทุกเช้าคำว่าเช้าของเรา
อาจไม่ได้แปลว่าเช้านะครับแปลว่าสายของคนอื่นเพราะกว่าผมจะโผล่มาถึงโรงเรียน
ได้ก็เป็นอันสายแล้วทุกที กลุ่มเราก็มักจะเป็นกลุ่มที่ครูจ้องเป็นพิเศษ ไม่ใช่จ้องให้
รางวัลหรืออะไรหรอกนะครับ    แต่เป็นกลุ่มพิเศษที่ครูจ้องจะทำโทษ ส่วนเราก็จ้อง
เป็นพิเศษเหมือนกันครับ จ้องไม่ให้ครูทำโทษเราได้ เช่นว่า
ครูเขาตั้งกฎไว้ว่า ถ้ามาสายเกิน 5 ครั้งจะหมดสิทธิ์สอบ เราก็จ้องเป็นพิเศษที่จะมาสาย
แค่ 4 ครั้ง พอถึงครั้งที่ห้า เราก็จะพยายามทำให้ครูผิดหวัง หรือครูตั้งกฎไว้ว่า ห้าม
เตะบอลบนระเบียงโรงเรียน เราก็ไม่เคยแตะกันเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่เตะกันนั้นคือที่
สนาม แต่ก็เตะกันจนกระทั่งกระจกหน้าต่างแตกได้ ทั้งที่หน้าต่างอยู่บนระเบียง
เห็นไม่ครับว่าผมและเพื่อนๆไม่ได้ทำผิดระเบียบของโรงเรียนแต่อย่างใดเลย
เราสามคนไปไหนก็ไปด้วยกัน เวลาเดินไปกินข้าวผมก็จะเอามือไสหัวเจ้าดาว
ไปด้วยเพราะมันตัวเล็กกว่าใครๆทั้งหมด แกล้งมันง่ายกว่าคนอื่น มันก็หันมาร้องว่า
ผมด้วยสำนวนแย่ๆของมัน"หัวกู" มันว่า "อย่ามายุ่ง"
เรื่องมันเป็นดังนี้ได้ทุกวัน จนกระทั่งวันหนึ่ง อาจารย์เทวีเดินมาเห็นผมกำลัง
ไสหัวเจ้าดาวเข้าพอดี และเจ้าหนุ่มกำลังยกเท้าขึ้นเตะก้นผม อาจารย์กวักมือ เรียกเรา
สามคนเข้าไปหา แล้วก็ทำโทษข้อหามีกิริยามรรยาทไม่สุภาพ แถมยังได้ยินเราพูดกัน
ด้วย ก็เลยเพิ่มอีกหนึ่งข้อหา คือ พูดจาหยาบคาย ไม่มีสมบัติผู้ดี
ผมก็ไม่รู้หรอกว่าสมบัติผู้ดีน่ะมันเป็นอย่างไร เพิ่งจะได้ยินข้อหาจากอาจารย์เทวี
เป็นครั้งแรก ก็ออกจะแปลกใจอยู่ยังกระซิบบอกเจ้าดาวมันว่า "ไม่รู้..." มันทำท่าจะต่อ
"โว้ย" แต่พอดีนึกได้ว่ากำลังอยู่ระหว่างทำโทษมันก็เลยหุบปากแน่น
หลังจากกินข้าวกลางวันแบบไม่อร่อยที่สุดในโลกแล้ว อาจารย์ก็ทำโทษโดยให้
  เจ้าหนุ่มมันรำคาญก็ผลักผมเซไป ผมก็เลยไปชนเจ้าดาว เท่านั้นแหละก็
เป็นเรื่องทันที เพราะเจ้าดาวมันตัวเล็ก ผมไปชนมันเข้า มันก็กระเด็นไปชนถึงขยะต่อ
จากถังขยะก็ไม่มีใครให้ชนแล้ว มันก็เลยล้มตึงเจ้าดาวเสียหลักล้มตามถังขยะไป
อีกทีหนึ่ง
ลองนึกภาพเอาเองก็แล้วกันว่า มันจะโกลาหลขนาดไหน แค่เดินเก็บขยะ คน
เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง ผมก็อายใครต่อใครอยู่แล้ว นี่พอถังขยะล้มแถมด้วยเจ้าดาวล้มตาม
แล้วผมยังเป็นจำเลยฐานทำเจ้าดาวล้มอีก ผมเลยกลายเป็นเป้าเด่น    ไม่แต่น้องก้อย
เท่านั้นที่เห็นผม    คนทั้งโรงเรียนเลยครับ    ไม่เว้นแม้แต่ครูและภารโรง
           ผมรีบเข้าไปช่วยเจ้าดาว จัดการหิ้วปีกมันขึ้นมา มองไปก็เห็นสายตาของน้องก้อย
ยิ้มเยาะอยู่ ผมก็ยิ่งประสาท
"นายประภานนท์"
นั่นเป็นเสียงของอาจารย์พิเชษฐ์ อาจารย์ฝ่ายปกครองที่เขาลือกันว่าดุกว่าเสือ
ผมอยากกระโดหลบหลังเจ้าหนุ่มแต่ก็ไม่สามารถทำได้ ผมทำได้อย่างเดียวคือ
เดินเชื่องๆออกไปหาเจ้าของเสียงเหี้ยมนั้น
"นั่นเพื่อนผู้หญิงนะ"
อาจารย์ชี้ไปที่เจ้าดาวที่ยืนทำหน้าพิลึกพิลั่น
"เธอไปแกล้งเขาอย่างนั้นได้อย่างไร"
"ผมไม่ได้แกล้งนะครับ" ผมรีบปฏิเสธ
"ไม่ต้องปฏิเสธเลย ลูกผู้ชายทำผิดแล้วต้องรับผิด แค่แกล้งผู้ชายด้วยกันก็ผิด
แล้ว นี่ยังแกล้งเพื่อนผู้หญิงอีกอาจารย์เทวีบอกว่าเธอแกล้งดุจดาว ถึงได้ถูกทำโทษ
แล้วนี่ระหว่างการทำโทษ ยังแกล้งเขาต่ออีก"
ผมโดนข้อหาฉกรรจ์ล้วนๆ
"ก็ได้ครับ ลูกผู้ชายต้องรับผิด" ผมนึกอยู่ในใจ แอ่นอกขึ้นรับผิด
"ผมผิดครับ" ผมตะโกนออกไปเต็มเสียง
นอกจากเก็บขยะคนเดียวในวันนั้นแล้ว ในตอนเย็นผมยังต้องช่วยงาน
อาจารย์พิเชษฐ์ในเรือนต้นไม้อีกเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็มๆ
เชื่อไหมครับ อาจารย์พิเชษฐ์ที่ว่าดุเป็นเสือ แกชอบต้นไม้เสียจริงๆ ให้ผมยก
ต้นไม้เข้า ยกต้นไม้ออก ยกดิน ยกปุ๋ย  ยกบ้า ยกบอ ยกอะไรนักไม่รู้ ลากสายยาง เปิดน้ำ
หยดฮอร์โมน หยดเกสร โอ๊ย! สารพัดแหละครับ จนค่ำย่ำเย็น    พอกลับไปถึงบ้าน แม่ก็
ยืนหน้าคว่ำรออยู่ ผมไม่กล้าบอกว่าผมถูกทำโทษ เอาแต่บอกว่าผมมีการบ้านต้องทำที่
โรงเรียนทุกวัน  จนพี่ไก่ไปกระซิบบอกแม่ว่าอะไรไม่รู้ แม่ถึงได้เลิกว่าผม ผมมารู้อีก
ทีหนึ่งว่าเจ้าดาวแหละไปรายงานพี่ไก่  พี่ไก่ก็เลยไปรายงานแม่ทุกอย่างก็เลยสงบดี
เป็นอันว่าเขารู้กันหมดแล้วว่า ผมถูกทำโทษ
นับตั้งแต่ผมถูกทำโทษ ผมมึนตึงกับเจ้าดาว เพราะมันเป็นต้นเหตุ ให้ผมอาย
ผู้หญิงที่ผมแอบชอบ มันเคยตามผมมาที่เรือนต้นไม้ แต่ผมไล่มันกลับไป
"แกไม่ต้องไม่ยุ่ง"
มันทำหน้ามุ่ย
"แกไม่เป็นลูกผู้ชายไล่ผู้หญิง"
"แล้วแกล่ะเป็นลูกผู้หญิงหรือเปล่า ไอ้บ้าเอ๊ย"
มันโมโหที่ผมไปตีถูกขนดหางมัน มันก็เลยกระแทกเท้าป้าปๆจากไป อาจารย์
พิเชษฐ์มาจากไหนไม่รู้มายืนอยู่ข้างหลังผม พูดกับผมขึ้นเบาๆว่า
"ประภานนท์ ครูรู้นะว่าเราไม่ได้อยากว่าผู้หญิงถึงขนาดนั้น แต่ตอนเราอายุ
เท่านี้ เรามักทำอะไรไม่ถูก  เพื่อนผู้หญิงบางคนก็ดูเป็นผู้หญิง บางคนก็ดูเป็นเหมือน
เพื่อนผู้ชาย เราแยกออกจากกันไม่ได้ บางเวลาเราก็อยากจะจีบผู้หญิง  บางเวลาเราก็
อยากปฏิบัติต่อผู้หญิงเหมือนผู้ชาย"
ผมมองหน้าอาจารย์พิเชษฐ์ด้วยความแปลกใจ อาจารย์ที่ว่าดุเป็นเสือเอาเข้าจริง
แล้ว ก็ไม่เลวนักหรอก
"จริงครับ บางทีผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำอย่างไรดี เป็นผู้ชายนี่ลำบากนะครับ"
อาจารย์พิเชษฐ์หัวเราะ
"ผู้หญิงเขาก็เป็นเหมือนเรานั่นแหละ ต่างคนต่างลำบาก ค่อยๆดูไป  เดี๋ยวมัน
ก็จะดีไปเอง ไม่ต้องรีบร้อนเป็นลูกผู้ชายหรอก แล้วก็ไม่ต้องหนีที่จะเป็น"
ว่าแล้วอาจารย์พิเชษฐ์ก็หัวเราฮ่า ๆ ๆ คำสอนและเสียงหัวเราะของอาจารย์ทำให้
ผมดีขึ้นมากเลยครับ เวลาจะเป็นลูกผู้ชายก็ต้องคิดแล้วคิดอีก แล้วก็ค่อยๆเป็นแบบอาจารย์ว่า
ข้อคิด 1.เสนอมุมมองเชิงจิตวิทยาพัฒนาวัยรุ่นชาย
2.
เด็กทุกคนควรมีความรับผิด ซื่อสัตย์ ยุติธรรม เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยวและกล้าหาญมาผูกเป็นเรื่อง ด้วยกลวิธีเล่าเรื่องและสอดแทรกสนทนา ซึ่งทำให้เรื่องสมจริงและมีชีวิตชีวา น่าอ่าน ผู้เขียนต้องการสะท้อนความคิด ความรู้สึกพฤติกรรมบางอย่างของวัยรุ่น และให้ข้อคิดแก่วัยรุ่นให้รู้จักความเป็นลูกผู้ชายรู้จักการมองเห็นในแง่ดีและรู้จักความรับผิดชอบ
                เรื่อง ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  เป็นงานเขียนประเภทบันเทิงคดีที่เรียกว่าเรื่องสั้นมีจุดมุ่งหมายเขียนเพื่อให้บันเทิงแก่ผู้อ่านเป็นสำคัญงานเขียนประเภทบันเทิงคดีอาจเป็นเรื่องที่เขียนจากเหตูการณ์ที่เกิดจริงเป็นเรื่องที่เกิดจาก   จินตนาการหรือการสมมุตินักเรียนที่เขียนเก่งมักเขียนได้สมจริงมากที่สุด งานเขียนประเภทบันเทิงคดีมีหลายรูปแบบ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ฯลฯ นักเขียน เรื่องสั้น นอกจากจะสร้างเรื่องให้ผู้อ่านอ่านให้สนุกแล้ว  มักจะสองแทรกแง่คิดค่านิยมหรือประเด็นปัญหาบางประการผู้อ่านที่รู้วิที่การวิเคราะห์และประเมินค่างานเขียนจะได้ประโยชน์จากการอ่านเพิ่มขึ้นด้วย
ลักษณะและองค์ประกอบของเรื่องสั้น
คำว่า เรื่องสั้น แปลจากคำภาษาอังกฤษว่า  short  story เรื่องสั้นโดยทั่วไปจะมีลักษณะ และองค์ประกอบที่ควรสังเกตดังนี้
๑.มีโครงเรื่องง่ายไม่ซับซ้อน  ดังเรื่องลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริงมีโครงเรื่องที่เสนอพฤติกรรมของวัยรุ่นที่สนใจใคร่เรียนรู้การเป็นลูกผู้ชาย
๒.มีแนวคินที่สร้างความประทับใจเพียงแนวคิดเดียว  ดังเรื่องลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  ก็คือ  ผู้ใหญ่รู้และเข้าใจธรรมชาติของวัยรุ่น  พร้อมที่จะให้โอกาสชี้แนะให้เห็นแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมยามที่เขาต้องการความช่วยเหลือ
๓. มีตัวละครที่่่่่่่มีบทบาทสำคัญไม่มากนัก    ตัวประกอบอื่นอาจมีตามความจำเป็น  แต่มักไม่เกิด  ๕  ตัวดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย..ตัวเกือบจริง  มีตัวละครสำคัญที่เป็นตัวดำเนินเรื่อง  คือประภานนท์มีจุดดาว  หมุ่น  อาจารย์เทวี  และอาจารย์เชษฐ์เป็นตัวประกอบ
๔.ดำเนินเรื่องรวดเร็ว  กระชับ  ดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  นี่เมื่อเปิดเรื่องและแนะนำตัวละครแล้วก็ดำเนินเรื่องได้กระชับและรวบเร็วโดยอาศัยเหตุการณ์ที่ทำให้ประภานนท์ต้องแสดงตนเป็น"ลูกผู้ชาย"
๕.สร้างเหตุการณ์ที่เป็นปนปัณหาหรือเสนอปนปัญหาหรือความขัดแย้งของผู้อ่านเข้าใจเรื่อง ดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง
ได้สร้างเหตุการณ์ในประภานนท์ถูกอาจารย์ฝ่ายปรกครองเข้าใจผิดคิดว่าไปกลั่นแกล้งดุจดาว

๖.ไม่เน้นฉากหรือบรรยากาศในเรื่อง  และไม่ไม่นิยมพรรณนารายละเอียดแต่กล่าวถึงเรื่องสั้นๆ   ตรงๆ พอที่จะให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ ดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย..ตัวเกือบจริง  ฉากของเรื่องนี้เป็นโรงเรียนของตัวละครทั้งสาม
๗.ปิดเรื่องโดยการหักมุมที่ผู้อ่านไม่คาดคิด  แต่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดหรือจุดมุ่งหมายของเรื่องได้  ดังเรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  ในแนวคิดซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของการเสนอเรื่องว่า  วัยรุ่นจะต้องค่อยๆ  เรียนรู้และปรับตนให้เหมาะสมกับวัย  ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน๘.มีบทนาที่สร้างความสมจริงตามธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์เพื่อบอกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ทำให้ทราบถึงอารมณ์  ความรู้สึกบุคลิกของลักษณะ  และคุณธรรฒของตัวละคร

การประเมินคุณค่าของเรื่องสั้น
เมื่ออ่านเรื่องสั้นแต่ละเรื่อง  นอกจากจะต้องจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร  มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง  เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลอะไรตามมาผู้อ่านควรคิดพิจารณาและวิเคราะห์เพื่อประเมินคุณค่าของเรื่องที่ได้อ่านไปแล้วนั้นด้วย  โดยพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
๑.ความสนุกสนานเพลิดเพลินที่ได้รับมีน้อยเพียงไร
เรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริง  เป็นเรื่องสั้นที่อ่านได้สนุกเพลิดเพลินเรื่องหนึ่งผู้อ่านวัยรุ่นน่าจะสนใจติดตามอ่าน  เพราะเนื้อหาเป็นราวที่สะท้อนพฤติกรรมของวัยรุ่น  และอาจตรงกับความคิดหรือผู้อ่านกำลังเผชิญอยู่
๒.สาระความรู้  แนวคิด  และแนวปฎิบัติที่สะท้อนพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์มีว่าอย่างไรอาจหยิบหยกเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของผู้อ่านหรือผู้อ่านหรือบุคคลที่แวดล้อมใกล้ชิดได้มากน้อยเพียงไร
เรื่อง  ลูกผู้ชาย...ตัวเกือบจริงเมื่ออ่านแล้วจะได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อต่อ

๒.๑.ความรู้ความเข้าใจทางจิตวิทยาด้านพัฒนาการวัยรุ่นเกี่ยวกับความคิดที่สับสนและความต้องการแสวงหาแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเป็น  "ลูกผู้ชาย"

๒.๒.ความเข้าใจความหมายของ "ลูกผู้ชาย"
๒.๓.แนวคิดและแนวปฎิบัติของผู้ใหญ่ที่พึ่งมีต่อศิษย์หรือบุตรหลานวัยรุ่นที่กำลังสับสนกับพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองและต้องการเวลาปรับตัว
๒.๔.กลวิธืในก่รดน้มน้าววัยรุ่นให้รู้  เข้าใจ  และยอมรับในการพัฒนาการช่วงวัยรุ่น  ยอมรับความผิด  การกระทำของผู้ใหญ่ว่ามีเจตนาที่ดี  มีความรัก  ความหวังดี  อยากให้เด็กเป็นคนดี  น่ารัก  ประพฤติตนถูกต้อง  เหมาะสม  เคารพกฎ  กติกา  ระเบียบ  และกฎหมายของสังคม
๓.การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม  พฤติกรรมของตังละครในเหตุการณ์ต่างๆสะท้อนให้เห็นคุณค่าของความเป็นมนุ ษย์ที่สังคมยอมรับมากมากน้อยเพียงไรพฤติกรรมของตัวละครสามารถนำไปเป็นแบอย่างหรือควรนำไปปฏิบัติตามหือไมท่อย่างไร
เรื่อง  ลูกผู้ชาย..ตัวเกืิอบจริงได้แทรกคุณคุณธรรมจริยธรรมต่อไปนี้
๓.๓. การเคารพกฎระเบียบของโรงเรียนหรือสังคม
๓.๒ .ความประพฤติที่เหมาะสมของหญิงชายที่สุ ภาพชน
๓.๓. ศักดิ์ศรีของความเป็นลูกผู้ชาย
๓.๔.ความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเมื่่อทำความผิดก็ยอมรับผิดและยอมรับโทษ
๓.๕.ความเป็นกัลยาณมิตรพึงมีต่อศิษย์
๔.การใช้ภาษาเพื่ิดำเนินเรื่องและสร้างความเป็นจริง  มีความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนมากน้อยเพียงใด
     มีข้อควรสังเกตว่าภาษาที่ใช้ในบทสนทนาขิงเรื่องสั้นนั้นอาจใช้ภาษาที่เป็นแบบแผนหรือเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเพราะต้องใช้ภาษาให้เขัากับบุคลิกลักษณะและบทบาทของตัวละคร  จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำไปใช้ด้วย

คำซ้อน๔จังหวะ
คำซ้อนคำหนึ่งประกอบด้วยคำเรียงกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป แต่ละคำมีความหมายใกล้เคียงกันก็มี หรือตรงข้ามกันก็มี เมื่อประกอบเข้ากันแล้ว จะทำให้มีคำใช้เพิ่มขึ้นในภาษา 
ตัวอย่าง
- เกี่ยวข้อง หมายถึง มีความสัมพันธ์กัน ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ เกี่ยว ซึ่งหมายถึง ยึดหรือเหนี่ยวเข้ามาติดกับคำ ข้อง ซึ่งหมายถึงติดอยู่
- ขัดขวาง หมายถึง ทำให้ดำเนินไปไม่สะดวก ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ ขัด ซึ่งหมายถึง ทำให้ติดขวางไว้ไม่หลุดออกกับคำ ขวาง ซึ่งหมายถึง กีดกั้น
- ส่งเสริม หมายถึง ช่วยให้ดีขึ้น เจริญขึ้น สะดวกขึ้น หรือทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น
ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ ส่ง ซึ่งหมายถึง ทำให้ เคลื่อนไปด้วยดี กับคำ เสริม ซึ่งหมายถึง เพิ่มเติมให้พอเหมาะ
คำซ้อนบางคำอาจมีความหมายไม่ต่างกับความหมายของคำที่ซ้อนกันมากนัก แต่บางคำอาจเปลี่ยนความหมายไปบ้าง
ตัวอย่าง
- คัดเลือก หมายถึง พิจารณาคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ เพื่อเอาเฉพาะสิ่งที่ต้องการไว้และ ตัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป มากหนัก
- ค้ำจุน หมายถึง อุดหนุนให้ดำรงอยู่ได้ มีความหมายเปลี่ยนไปจากคำ ค้ำ ซึ่งหมายถึง เอาวัตถุที่แข็งแรง เช่น ไม้ ยันวัตถุอีกสิ่งหนึ่งไว้เพื่อไม่ให้ล้ม กับคำ จุน ซึ่งหมายถึง ใช้วัตถุขนาดเล็กยันพอปะทะปะทังวัตถุอีกสิ่งหนึ่ง ไว้ไม่ให้ล้ม

คำซ้อนบางคำ คำใดคำหนึ่งอาจมิได้ใช้ทั่วไป แต่ใช้เฉพาะในภาษาถิ่นบางถิ่น หรืออาจเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ซึ่งมีความหมายเดียวกันหรือทำนองเดียวกันกับอีกคำหนึ่ง
ตัวอย่าง
- เสื่อสาด คำ สาด เป็นคำภาษาถิ่น หมายถึง เสื่อ
- สร้างสรรค์  สรรค์ เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง สร้าง
- ห้าวหาญ  หาญ เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร หมายถึง กล้า
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้อน
๑.คำซ้อนในภาษาไทยจำนวนไม่น้อยประกอบด้วยคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน เช่น เกลี้ยงเกลา แกว่งไกว ขยับเขยื้อน เคลื่อนคล้อย แจ่มแจ้ง เชิดชู
๒.คำพยางค์เดียวหรือคำสองพยางค์ อาจซ้อนกันได้ กลายเป็นคำซ้อน ๔ พยางค์ เช่น ป่าดงพงไพร กระเซ้าเย้าแหย่ แม่น้ำลำคลอง บรรเทาเบาบาง
๓.หากคำซ้อนคำพยางค์เดียวกับคำ ๒ พยางค์ มักมีการเติมพยางค์อีก ๑ พยางค์ เพื่อให้กลายเป็น คำซ้อน ๔ พยางค์ เช่น ขโมยขโจร สงบงบเงียม
๔.คำซ้อน ๔ พยางค์ อาจมีสัมผัสสระ เช่น คุยโม้โอ้อวด ตีอกชกหัว ถนนหนทาง และอาจมี การซ้ำพยางค์ที่ ๑ กับ ๓ เช่น หัวจิตหัวใจ ห้องน้ำห้องท่า                                  

                             
                                     บทเสริม      
เป็นคนควรสงวนนวงศ์ไว้จงนัก          ถนอมรักษาตัวเหมือนหัวแหวน
อย่าปนปัดให้เขาหลู่มาดูแคลน          ถึงยากแค้นรักรักนวลสงวนกาย
จงดูเยี่ยงจามมีสัตย์มั่น                     แต่ขนข้องอยู่เท่านั้นไม่หนีหาย
คอยเปลื่องปดเสียหมดราคีคาย         ไม่เสียดายชีวาตม์จะขาดกระเด็น
                                                   
                                                     สุภาษิตสอนเด็ก,  ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
   คิดตรอง   ลองทำดู    
แบ่งกลุ่มแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่อไปนี้  แล้วให้ผู้แทนกลุ่มสรุปให้เพื่อนๆฟัง
๑.ความหมายของชื่อเรื่อง  และความหมาย    "ลูกผู้ชายตัวเกือบจริง"
๒.ความเหมาะสมภาษาที่ใช้ในเรื่อง  เช่นเพื่อนพูดกับเพื่อน  นักเรียนกล่าวถึงครู
๓.วิธีชักชวนให้นักเรียนปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน
๔.การโน้มน้าวใจให้นักเรียนพูดจาไพเราะ
๕.ลักษณะที่เป็นคุณสมบัติที่ดี
๒.ฝึกเขียนบรรยายเรื่องราวจากเหตุการณ์หรือสิ่งประทับใจที่พบเห็น  แล้วให้เพื่อนแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุง
๓.จับคู่วิเคราะห์พฤติกรรมที่ดีของเพื่อน  และให้บอกพฤติกรรมดังกล่าวมีผลต่อมิตรภาพระหว่างเพื่อนอย่างไรบ้าง
๔.ฝึกวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครจากวรรณกรรมหรือวรรณคดีที่นักเรียนชอบแล้วนำเสนอให้เพื่อนๆร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

                                          คิดเพิ่มเสริมทักษะ
๑.กิจกรรมอภิปายหรือโต้วาทีตามดอกาสอันควร  หัวข้อ  คือ
                                   เป็นผุ้หญิงแท้แสนลำบาก   เป็นชายยิ่งยากกว่าหยายเท่า
๒.อ่านเรื่องสั้นเรื่องอื่นเพิ่มตามความสนใจ  แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง
๓.แนะนำเรื่องสั้นที่น่าสนใจให้เพื่อนร่วมชั้นอ่าน  เล่าเรื่องย่อ  และวิเคราะห์คุณค่าเรื่องสั้นนั้นโดยสังเขป

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญ วันวิสาขบูชา หมายถึง อะไรเรามีคำตอบ
           วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ


 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

         
 คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...



1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส



2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
          
           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
          
 ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
          
 ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา




3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
                                                           

 ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย

          ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

       
   ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

          สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

          
หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ  และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ 
และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day  ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน



 การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา

การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

          
 1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
          
 2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
          
 3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

 กิจกรรมใน วันวิสาขบูชา

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

          
 1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
          
 2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
          
 3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
          
 4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
          
 5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
          
 6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
          
 7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
          
 8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

 หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

          ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

1. ความกตัญญู

          คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

          ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

2. อริยสัจ 4

          คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

          
 ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

          
 สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

          
 นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

          
 มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ กระทำชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตมั่นชอบ


3. ความไม่ประมาท

          คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


          วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์  อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ